วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่3
วันจันทร์ ที่12 กันยายน 2559
••••••••••••••••••••••••••••••••••
>ก่อนเข้าสู่บทเรียน
  • วันนี้อาจารย์ได้นัดหมายให้นักศึกษาเรียนรวมกันทั้งชั้นปี ดังนั้นสมาชิกในห้องจะเพิ่มมากขึ้นเท่าตัว การเรียนการสอนจึงมีความวุ่นวายบ้าง อาจดูแลไม่ทั่วถึงบ้าง แต่ก็เป็นนิมิตรหมายอันดี อาจารย์เริ่มจากการให้ร้องเพลงภาษาอังกฤษที่เคยึกร้องไปเมื่อคาบที่แล้ว เพื่อให้นักศึกษาร้องได้เองร้องได้คล่องให้จำเนื้อและทำนองได้อย่างแม่นยำ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนให้กับเด็กปฐมวัยในอนาคต


  • อาจารย์แจกหนังสือเรียนให้กับนักศึกษาเพื่อใช้ศึกษาความรู้ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องในรายวิชาความคิดสร้างสรรค์ และการที่มีหนังสือประจำวิชา ทำให้นักศึกษาได้ศึกษาข้อมูลโดยตรง และใช้อ่านสอบได้

>เข้าสู่บทเรียน
  •อาจารย์ได้สอนนักศึกษาได้รู้จักเรื่องของSTEM / STEAM EDUCATION
ความหมาย เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นการนำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน


STEM / STEAM EDUCATION (สะเต็มศึกษา)
Science
Technology
Engineering
Mathematics

STEM
Science (วิทยาศาสตร์)
คือ การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ 
Technology (เทคโนโลยี)
คือ วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
คือ ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง 
Mathematic (คณิตศาสตร์)
คือ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ 

“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ 

  กิจกรรมที่1 ตกแต่งจานกระดาษ...ให้เป็นผีเสื้อ
วัสดุ,อุปกรณ์ : จานกระดาษ,ไม้ไอศกรีม,สีเทียน,กาวสองหน้า,กรรไกร
วิธีการทำ : ตัดจานกระดาษออกเป็น2อัน ปีกซ้ายและขวา ตัดแต่งตามจินตนาการ
                  ตกแต่งจานกระดาษโดยการวาดหรือเขียนลงไปก็ได้ ตามจินตนาการโดยใช้สีเทียน
                  นำปีกทั้งสองข้างมาแปะไม้ไอศกรีม เพื่อทำเป็นผีเสื้อที่สมบูรณ์และสวยงาม


  • กิจกรรมที่2 สร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ
วัสดุ,อุปกรณ์ : กิ่งไม้,ใบไม้,ดอกไม้,เชือก,ผ้าคลุม
วิธีการทำ : นำกิ่งไม้มาสร้างเป็นฐานของกรง เพื่อทำให้มีความม่นคงและแข็งแรง
                  นำกิ่งไม้เล็กๆมาสร้างและตกแต่งให้เป็นกรงของผีเสื้อโดยอิงหลักการจริง
                  ตกแต่งด้วยใบไม้ดอกไม้เพื่อให้สมจริงมากที่สุด
                  คลุมด้วยผ้าบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผีเสื้อบินออกไป


  • กิจกรรมที่3 ถ่ายทำคลิปวัฏจักรของผีเสื้อ
วิธีการทำ : ถ่ายรูปการเจริญเติบโตของผีเสื้อไปทีละขั้น โดยตัวของผีเสื้อแต่ละขั้น ต้องปั้นด้วยดินน้ำมันหรือตกแต่งจากดินน้ำมัน จากนั้นนำรูปมาเรียงต่อกันเป็นคลิปวิดิโอที่ต่อเนื่องกัน แสดงให้เห็นถึงวัฏจักรของผีเสื้ออย่างชัดเจน เช่น
                                                      ไข่ > หนอน > ดักแด้ > ผีเสื้อ


ไข่

หนอน

ดักแด้

ผีเสื้อ

สรุปกิจกรรม : จากการทำกิจกรรมดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการทำกิจกรรมที่ใช้STEM ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งจานกระดาษให้เป็นปผีเสื้อ ก็ต้องมีความเป็นศิลปะและมีคณิตศาสตร์ร่วมอยู่ด้วย คือการตัดกระดาษสมมาตรกัน รูปทรงต่างๆ การสร้างกรงก็ต้องอาศัยความคิดการออกแบบในการสร้าง การทำวิดิโอเพื่อนำเสนอการเจริญเติบโตของผีเสื้อก็ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกเข้ามาช่วย คือดทรศัพท์ซึ่งเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้หนึ่ง แต่สามารถบูรณาการกับหลายวิชา

สิ่งที่ได้รับ
-ได้รู้จักการศึกษาแบบสะเต็มซึ่งเป็นการบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ
-ทักษะการคิดวางแผนการร่วมมือกันระหว่างตนเองและสมาชิกในกลุ่ม
-การคิดเชื่อมโยงหน่วยการเรียนรู้ให้มีความสัมพํนธ์กับสะเต็มในแต่ละวิชา

ประเมินตนเอง
-มีความตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนและมอบหมายงานให้ในระหว่างคาบเรียน
-กล้าที่จะคิดและทำในสิ่งที่ตนเองคิดและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนทุกคน
-มีความใส่ใจและเตรียมความร้อมอย่างดีในการจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อใช้ใรการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจทำงานกลุ่มของตนเองเป็นอย่างดีมีความคิดที่สร้างสรรค์แปลกใหม่
-ให้ความสนใจกิจกรรมและมีความพร้อมในการทำกิจกรรมโดยเตรียมวัสดุมาจากบ้าน
-ตั้งใจทำงานและส่งตามเวลาที่อาจารย์กำหนดและมีผลงานเป็นที่น่าพอใจ

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์สร้างบรรยากาศให้น่าเรียนโดยการสอดแทรกกิจกรรมเข้าไปในบทเรียน
-อาจารย์ใส่ใจและมีความพร้อมในการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำกิจกรรม
-อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่มเพื่อให้ได้บ่งปันความคิดและช่วยกันทำ

              
               •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่2
วันจันทร์ ที่5 กันยายน 2559
•••••••••••••••••••••••••••••••••
>ก่อนเข้าสู่บทเรียน
  •อาจารย์เปิดโฆษณาให้นักศึกษาดู ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนสังคมปัจจุบัน การขึ้นรถเมล์ ความปลอดภัยของผู้โดยสาร

  •อาจารย์ให้นักศึกษาทบทวนเพลงภาษาอังกฤษที่ฝึกร้องไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว นักศึกษาจะได้จดจำเนื้อเพลงและทำนองอย่างถูกต้อง เพื่อนำไปใช้สอนเด็กๆในอนาคตได้


   •กิจกรรม Marshmallow Tower อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมนี้โดยให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ5-6คน แล้วนั่งลงกับพื้น จากนั้นอาจารย์ก็แจกวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม พร้อมกับบอกวิธีการเล่นและกติกาที่ต้องปฏิบัติ
    อุปกรณ์ : ดินน้ำมัน3สี,ไม้จิ้มฟัน


    วิธีการ : ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำไม้จิ้มฟันและดินน้ำมันทำเป็นทาวเวอร์ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจะให้ทำทั้งหมด3ครั้ง แต่ละครั้งจะให้เวลาทำ5นาที ครั้งที่1จะให้เริ่มทำเลยห้ามวางแผนล่วงหน้าและห้ามพูด ครั้งที่2ให้พูดได้คนเดียวเพื่อเป็นคนนำเพื่อน ครั้งที่3ให้วางแผนก่อนได้และพูดได้ เมื่อแต่ละครั้งที่ทำเสร็จและหมดเวลา อาจารย์ก็จะนำไม้บรรทัดมาวัดความสูงว่าทาวเวอร์ของแต่ละกลุ่มมีความสูงเท่าไหร่ และกลุ่มไหนสูงที่สุด
    สรุป : เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมอาจารย์ได้สรุปออกมาว่า จากกิจกรรมนี้ก็เพื่อที่จะดูว่าเรามีความตั้งใจพยายาม สามัคคีกันมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในการทำแต่ละครั้งบางกลุ่มก็มีความสูงที่เพิ่มขึ้น บางกลุ่มก็สูงน้อยลงจากครั้งแรก บางกลุ่มอาจสูงต่ำสลับกันไป และจากกติกาที่อาจารย์ไม่ให้พูดในครั้งที่1 แล้วถ้ากลุ่มไหนสร้างทาวเวอร์ออกมาได้สูงแสดงว่าเป็นคนที่ชอบทำอะไรด้วยตัวเองชอบฉายเดี่ยว ครั้งที่2อาจารย์ให้พูดได้คนเดียวแล้วถ้ากลุ่มไหนสร้างทาวเวอร์ออกมาดี แสดงว่าสามารถเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีได้ ครั้งที่3อาจารย์ให้พูดได้ทุกคนและวางแผนก่อนได้ แล้ว้ากลุ่มไหนสร้างทาวเวอร์ออกมาดี แสดงว่ากลุ่มนั้นเป็นกลุ่มที่ชอบวางแผนในการทำงานปรึกษากัน


ครั้งที่1

ครั้งที่2

ครั้งที่3


>เข้าสู่บทเรียน
   •การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น คือ -กระบวนการเรียนรู้ และประสบการร์ที่เด็กได้รับ
                   -ทำให้เด็กสนุกเพลิดเพลินผ่อนคลาย
                   -ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม

ประเทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่นกลางแจ้ง -การเคลื่อนไหวอย่างอิสระ การเล่นกับอุปกรณ์ เล่นสนาม
การเล่นในร่ม -การเล่นตามมุมประสบการณ์ การเล่นสรรค์สร้าง

องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
1.สภาวะการเรียนรู้
  การเรียนรู้คุณลักษณะความเหมือน ของหนึ่งชิ้นสามารถเป็นได้หลายรูปแบบ
  การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
  การเรียนรู้เหตุและผล
2.พัฒนาการของการรู้คิด
  ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3.กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
   กระบวนการจัดประสบการณ๋เพื่อการเรียนรู้ 
                                                                 -เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
                                                                 -การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
                                                                 -การจำแนกอย่างมีเหตุผล
   หลักการจัดกิจกรรมการเลานสรรค์สร้าง 
                                                             -ศึกษาสภาพของเด็กกำหนดขอบข่าย
                                                             -ศึกษาสภาพแวดล้อมเตรียมสื่อจัดกิจกรรม
                                                             -มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะที่เหมาะสม
                                                             -สรุปท้ายกิจกรรม


    •กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเดิม แล้วแจกวัสดุอปุกรณ์ให้ 
    อุปกรณ์ : กระดาษ1แผ่น,หลอด2อัน,หนังยาง4เส้น


    วิธีการ : ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดการสร้างเรือจากวัสดุที่กำหนดให้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องลอยน้ำและบรรทุกซองซอสมะเขือเทศให้ได้มากที่สุด
    สรุป : จากกิจกรรมมีหลายกลุ่มที่สามารถบรรทุกซอสได้หลายซอง บางกลุ่มเรือจมน้ำ ซึ่งกิจกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี ความร่วมมือ การคิดหาวิธี ระดมความคิดช่วยกันออกแบบ การแก้ปัญหา เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด





   •กิจกรรมดีไซเนอร์ระดับโลก 
อุปกรณ์ : หนังสือพิมพ์,สก็อตเทปหนังไก่
วิธีการ : อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม5-คน จากนั้นให้เลือกนางแบบในกลุ่ม1คน แล้วช่วยกันประดับชุดตกแต่งจากหนังสือพิม์ให้อลังการที่สุด ภายในเวลา30นาที จากนันให้เดินโชว์ตัว และให้ดีไซน์เนอร์ออกมาพรีเซนต์คอนเซปของชุด
สรุป : จากกิจกรรมครั้งนี้ทุกกลุ่มกลุ่มสามารถดีไซน์ชุดออกมาได้สวยและอลังการ ทุกคนในกลุ่มร่วมด้วยช่วยกันอย่างตั้งใจในการประดิษฐ์ชุด แล้วก็ได้ชุดออกมาอย่างสวยงามอย่างที่ตั้งใจ ได้เห็นถึงความร่วมมือกัน และความเสียสละของนางแบบ ที่ได้มาเป็นตัวแทนของกลุ่ม




สิ่งที่ได้รับ
- ได้มีทักษะการคิดการวางแผนร่วมมือกันคิดหาวิธีในการทำชิ้นงานออกมาให้ดีที่สุด
- ได้ฝึกคิดจินตนาการอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ผลงานมีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร
- ได้ฝึกการร่วมด้วยช่วยกันในการทำงานกลุ่มและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนในกลุ่ม

ประเมินตนเอง
- มีความตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้อย่างดีและเสร็จทันเวลาที่กำหนด
- ช่วยงานเพื่อนในกลุ่มอย่างเต็มที่เพื่อให้ผลงานออกมาอย่างสมบูรณ์
- เปิดโอกาสให้เพื่อนได้แสดงความคิดและตนเองก็ยอมรับในความคิดเห็นเพื่อน

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนทุกคนได้ร่วมมือกันในการทำผลงานของแต่ละกลุ่มดีมากและมีความเสียสละ
- เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายมาเป็นอย่างดี
- เพื่อนทุกคนเคารพกติกาของแต่ละกิจกรรม และเคารพอาจารย์ในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์สามารถนำความรู้ การสอนที่ดี มาสู่นักศึกษาอย่างเต็มที่และสมบูรณ์
-อาจารย์มีวิธีการสอนที่น่าสนใจทำให้นักศึกษาไม่ง่วงนอนหรือเบื่อระหว่างเรียน
-อาจารย์มีความพร้อมในการเตรียมสื่ออุปกรณ์มาสอนนักศึกษาเป็นอย่างดี

       •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่1
วันจันทร์ ที่29 สิงหาคม 2559
>ก่อนเข้าสู่บทเรียน
  •อาจารย์แจกใบปั๊มเพื่อเช็คเวลาเข้าเรียนและรางวัลเด็กดีให้กับนักศึกษา 


  •อาจารย์แนะแนวการเรียนการสอนในรายวิชานี้ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง รูปแบบการเรียนจะเรียนไปในทิศทางประมาณใด พร้อมบอกและอธิบายเหตุผลที่อาจารย์ได้เป็นผู้รับผิดชอบสอนในรายวิชานี้กับนักศึกษาอีกด้วย

  •อาจารย์แจกกระดาษ1แผ่น ขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของการดาษA4 ซึ่งมีเนื้อเพลงภาษาอังกฤษอยู่ในนั้นด้วย มีทั้งหมด4เพลง จากนั้นอาจารย์ก็สอนนักศึกษาฝึกร้องเพลงจนครบ เหตุผลที่อาจารย์นำเพลงภาษาอังกฤษมาให้ฝึกร้องก็เพราะว่า ในอนาคตนักศึกษาอาจจะได้ฝึกสอนหรือเป็นครูสอนเด็กห้องเรียนระบบภาษาอังกฤษก็เป็นได้ การที่เรามีพื้นฐานในการร้องเพลงภาษาอังกฤษได้บ้าง ก็จะส่งผลดีเมื่อเราได้ออกไปฝึกสอนตามโรงเรียนต่างๆ 


>เข้าสู่บทเรียน
  •อาจารย์มีรูปภาพจุด9จุดมาให้นักศึกษาดู พร้อมกับตั้งปัญหาว่า ให้นักศึกษาลากเส้นให้ได้ทั้งหมดเส้น จะเป็นเส้นเฉียง หรือตรงก็ได้4เส้น เท่านั้น ห้ามตัดจุดเดิม และห้ามยกปากกา นักศึกษามีวิธีในการคิดและทำอย่างไรบ้าง จากนั้นเวลาผ่านไป5นาที ก็มีเพื่อนๆบางคนทำได้ พร้อมกับออกไปสาธิตวิธีการลากเส้นตามกติกาที่อาจารย์กำหนดอย่างถูกต้อง โดยวิธีที่เพื่อนได้สาธิตนั้นคือ ต้องลากผ่านจุดออกไป ซึ่งเป็นวิธีคร่าวๆที่นำมาอธิบาย ส่วนเพื่อนหลายคนที่ทำยังไม่ได้ก็ตัดพ้อนึกว่าต้องลากไปตามจุดเท่านั้น จากกิจกรรมดังกล่าวที่กล่าวมา อาจารย์ได้ฝึกให้นักศึกษาคิด คิดค้นหาวิธี คิดให้นอกกรอบ เพราะว่า คนเป็นครูต้องคิดให้นอกกรอบ กล้าที่จะทำ และคิดให้ยืดหยุ่น


  •อาจารย์เริ่มเข้าสู่เนื้อหาการเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของความคิดสร้างสรรค์
  - ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง เป็นการคิดอย่างอิสระ นำความคิดหลายๆอย่างมารวมกัน หรือคิดนอกกรอบเพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น 
  - คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ -คุณค่าต่อสังคม     
                                                     -คุณค่าต่อตนเอง
                                                     -ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลินเพลิน
                                                     -ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
                                                     -มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
                                                     -นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ เป็นต้น
  - องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
                                                     -ความคิดคล่องแคล่ว...คิดรวดเร็ว คิดได้ทันที
                                                     -ความคิดริเริ่ม...คิดแปลกใหม่ คิดต่าง
                                                     -ความคิดยืดหยุ่น...คิดแก้ปัญหา คิดดัดแปลง
                                                     -ความคิดละเอียดละออ...คิดเล็กคิดน้อย คิดถี่ถ้วน
  - ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ -ก่อให้เกิดสิ่งแลกใหม่
                                                          -อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
                                                          -ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
                                                          -ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
                                                          -ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
-ทฤษฎีของTorrance ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานและเผยแพร่ผลที่ได้จาการทดสอบ
ขั้นที่1 การค้นพบความจริง
ขั้นที่2การค้นพบปัญหา
ขั้นที่3การตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่4การค้นพบคำตอบ
ขั้นที่5การยอมรับผล


  •อาจารย์ได้สอดแทรกกิจกกรรมการถาม-ตอบระหว่างการสอนเนื้อหาเพื่อความเข้าใจที่ดี และได้ฝึกการคิดในรูปแบบต่างๆเช่น การคิดคล่องแคล่วง อาจารย์ได้ตั้งคำถาม แล้วให้นักศึกษาตอบทีละคนอย่างรวดเร็ว เพื่อฝึกการคิดที่คล่องแคล่ว เช่นให้บอกชื่อจังหวัดในประเทศไทยมาคนละจังหวัด ห้ามซ้ำกัน ทำให้นักศึกษาได้ฝึกคิด รีบคิดหรือคิดนอกเหนือจากที่เพื่อนตอบไปแล้วคือคิดไม่ซ้ำกัน

   •อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น จากนั้นให้นักศึกษาคิดออกแบบจรวจในความคิดของตนเอง แล้วให้นำมาร่อนลงตะกร้าที่อาจารย์วางไว้หน้าห้อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกการคิดการจินตนาการด้วยตัวเองการคิดแปลกใหม่


    •อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ แล้วมีกระดาษแข็งสีขาวขนาดA3มาแจกให้กับนักศึกษา พร้อมกับให้หยิบสีคนละ1แท่ง โดยข้อตกลงมีอยู่ว่า อาจารย์จะเปิดเพลงแล้วให้นักศึกษาลากเส้นลงบนกระดาษไปอย่างอิสระ โดยห้ามคุยกัน และห้ามยกแท่งสีขึ้น โดยการลากเส้นนั้นต้องลากให้เข้ากับทำนองของบทเพลงนั้น ตามจินตนาการของเรา เมื่อเพลงจบ อาจารย์ก็ให้นักศึกษาสังเกตดูในกระดาษว่า เส้นที่เราลากไปมานั้นสามารถจินตนาการเป็นรูปอะไรได้บ้าง พร้อมกับลงสี จากนั้นก็นำมาพรีเซนต์หน้าห้องว่ารูปภาพของตนเองมีอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกกาารคิดสร้างสรรค์จินตนาการอย่างอิสระของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความคิด จินตนาการที่ไม่เหมือนกัน




สิ่งที่ได้รับ
- ได้รู้จักองค์ประกอบของการคิดในหลายลักษณะที่แตกต่างกันมีวิธีการคิดที่ไม่เหมือนกัน
-ได้ฝึกการคิดนอกกรอบการจินตนาการสร้างสรรค์สิ่งๆหนึ่งธรรมดาที่มีอยู่ให้เป็นอีกอย่างหนึ่งได้
-ได้ฝึกคิดคล่องแคล่วเพื่อให้สมองทำงานอย่างรวดเร็วในการตอบคำถามอาจารย์

ประเมินตนเอง
-มีความสนใจในเนื้อหาที่อาจารย์กำลังสอนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมเป็นอย่างดี
-ตั้งใจเรียนไม่คุยกับเพื่อนเสียงดังขณะที่อาจารย์กำลังสอนเพื่อให้เกียรติอาจารย์
-แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและเข้าเรียนตรงตามเวลา

ประเมินเพื่อน
-มีความตั้งใจสนใจฟังในเรื่องที่อาจารย์กำลังสอนมีความเข้าใจและพร้อมปฏิบัติ
-ให้ความร่วมมือทุกกิจกรรมทำให้ให้การเรียนการสอนมีความสนุกและผ่านพ้นไปด้วยดี
-ไม่คุยกันเสียงดังแต่งกายเรียบร้อยและเข้าเรียนตรงตามเวลาแต่อาจมีเข้าช้าบ้างเป็นบางคน

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ไม่สอนเร่งรีบไม่ดุนักศึกษาไม่เคร่งเครียดทำให้บรรยากาศในการเรียนมีความสุข
-อาจารย์มีรูปแบบวิธีการสอนที่น่าสนใจมีกิจกรรมสอดแทรกอยู่เสมอทำให้นักศึกษาไม่ง่วงนอน
-อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเป็นเยี่ยงอย่างให้กับนักศึกษาและเข้าสอนตรงตามเวลา
        •