วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่3
วันจันทร์ ที่12 กันยายน 2559
••••••••••••••••••••••••••••••••••
>ก่อนเข้าสู่บทเรียน
  • วันนี้อาจารย์ได้นัดหมายให้นักศึกษาเรียนรวมกันทั้งชั้นปี ดังนั้นสมาชิกในห้องจะเพิ่มมากขึ้นเท่าตัว การเรียนการสอนจึงมีความวุ่นวายบ้าง อาจดูแลไม่ทั่วถึงบ้าง แต่ก็เป็นนิมิตรหมายอันดี อาจารย์เริ่มจากการให้ร้องเพลงภาษาอังกฤษที่เคยึกร้องไปเมื่อคาบที่แล้ว เพื่อให้นักศึกษาร้องได้เองร้องได้คล่องให้จำเนื้อและทำนองได้อย่างแม่นยำ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนให้กับเด็กปฐมวัยในอนาคต


  • อาจารย์แจกหนังสือเรียนให้กับนักศึกษาเพื่อใช้ศึกษาความรู้ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องในรายวิชาความคิดสร้างสรรค์ และการที่มีหนังสือประจำวิชา ทำให้นักศึกษาได้ศึกษาข้อมูลโดยตรง และใช้อ่านสอบได้

>เข้าสู่บทเรียน
  •อาจารย์ได้สอนนักศึกษาได้รู้จักเรื่องของSTEM / STEAM EDUCATION
ความหมาย เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นการนำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน


STEM / STEAM EDUCATION (สะเต็มศึกษา)
Science
Technology
Engineering
Mathematics

STEM
Science (วิทยาศาสตร์)
คือ การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ 
Technology (เทคโนโลยี)
คือ วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
คือ ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง 
Mathematic (คณิตศาสตร์)
คือ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ 

“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ 

  กิจกรรมที่1 ตกแต่งจานกระดาษ...ให้เป็นผีเสื้อ
วัสดุ,อุปกรณ์ : จานกระดาษ,ไม้ไอศกรีม,สีเทียน,กาวสองหน้า,กรรไกร
วิธีการทำ : ตัดจานกระดาษออกเป็น2อัน ปีกซ้ายและขวา ตัดแต่งตามจินตนาการ
                  ตกแต่งจานกระดาษโดยการวาดหรือเขียนลงไปก็ได้ ตามจินตนาการโดยใช้สีเทียน
                  นำปีกทั้งสองข้างมาแปะไม้ไอศกรีม เพื่อทำเป็นผีเสื้อที่สมบูรณ์และสวยงาม


  • กิจกรรมที่2 สร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ
วัสดุ,อุปกรณ์ : กิ่งไม้,ใบไม้,ดอกไม้,เชือก,ผ้าคลุม
วิธีการทำ : นำกิ่งไม้มาสร้างเป็นฐานของกรง เพื่อทำให้มีความม่นคงและแข็งแรง
                  นำกิ่งไม้เล็กๆมาสร้างและตกแต่งให้เป็นกรงของผีเสื้อโดยอิงหลักการจริง
                  ตกแต่งด้วยใบไม้ดอกไม้เพื่อให้สมจริงมากที่สุด
                  คลุมด้วยผ้าบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผีเสื้อบินออกไป


  • กิจกรรมที่3 ถ่ายทำคลิปวัฏจักรของผีเสื้อ
วิธีการทำ : ถ่ายรูปการเจริญเติบโตของผีเสื้อไปทีละขั้น โดยตัวของผีเสื้อแต่ละขั้น ต้องปั้นด้วยดินน้ำมันหรือตกแต่งจากดินน้ำมัน จากนั้นนำรูปมาเรียงต่อกันเป็นคลิปวิดิโอที่ต่อเนื่องกัน แสดงให้เห็นถึงวัฏจักรของผีเสื้ออย่างชัดเจน เช่น
                                                      ไข่ > หนอน > ดักแด้ > ผีเสื้อ


ไข่

หนอน

ดักแด้

ผีเสื้อ

สรุปกิจกรรม : จากการทำกิจกรรมดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการทำกิจกรรมที่ใช้STEM ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งจานกระดาษให้เป็นปผีเสื้อ ก็ต้องมีความเป็นศิลปะและมีคณิตศาสตร์ร่วมอยู่ด้วย คือการตัดกระดาษสมมาตรกัน รูปทรงต่างๆ การสร้างกรงก็ต้องอาศัยความคิดการออกแบบในการสร้าง การทำวิดิโอเพื่อนำเสนอการเจริญเติบโตของผีเสื้อก็ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกเข้ามาช่วย คือดทรศัพท์ซึ่งเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้หนึ่ง แต่สามารถบูรณาการกับหลายวิชา

สิ่งที่ได้รับ
-ได้รู้จักการศึกษาแบบสะเต็มซึ่งเป็นการบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ
-ทักษะการคิดวางแผนการร่วมมือกันระหว่างตนเองและสมาชิกในกลุ่ม
-การคิดเชื่อมโยงหน่วยการเรียนรู้ให้มีความสัมพํนธ์กับสะเต็มในแต่ละวิชา

ประเมินตนเอง
-มีความตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนและมอบหมายงานให้ในระหว่างคาบเรียน
-กล้าที่จะคิดและทำในสิ่งที่ตนเองคิดและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนทุกคน
-มีความใส่ใจและเตรียมความร้อมอย่างดีในการจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อใช้ใรการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจทำงานกลุ่มของตนเองเป็นอย่างดีมีความคิดที่สร้างสรรค์แปลกใหม่
-ให้ความสนใจกิจกรรมและมีความพร้อมในการทำกิจกรรมโดยเตรียมวัสดุมาจากบ้าน
-ตั้งใจทำงานและส่งตามเวลาที่อาจารย์กำหนดและมีผลงานเป็นที่น่าพอใจ

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์สร้างบรรยากาศให้น่าเรียนโดยการสอดแทรกกิจกรรมเข้าไปในบทเรียน
-อาจารย์ใส่ใจและมีความพร้อมในการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำกิจกรรม
-อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่มเพื่อให้ได้บ่งปันความคิดและช่วยกันทำ

              
               •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น