วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่6
วันจันทร์ ที่17 ตุลาคม 2559
•••••••••••••••••••••••••••••••••

• อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ10คน แล้วให้ออกแบบตัวเลขคนละ1ตัว ห้ามซ้ำกันในกลุ่ม โดยจะออกแบบตัวเลขนั้นเป็นรูปแบบไหนก็ได้ตามจินตนาการของแต่ละคน


• พอวาดตัวเลขและออกแบบเสร็จ ก็ให้ทุกคนนำตัวเลขไปติดที่กระดานหน้าห้อง เพื่อที่จะได้ดูและวิเคราะห์ที่มาของการออกแบบตัวเลขของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เช่นบางคนออกแบบเลขที่1 อาจจะวาดขาหรือแขนประกอบตัวเลขนั้นด้วย เพื่อความแปลกใหม่ หรือน่าสนใจกว่าเดิม บางคนอาจดัดแปลงรูปสัตว์ให้เป็นตัวเลข เป็นการเทียบเคียงรูปร่างลักษณะของตัวเลขและสัตว์ต่างๆ


• เมื่ออาจารย์ได้ให้นักศึกษาอธิบายการออกแบบตัวเลขของทุกคนแล้ว ก็ให้นำตัวเลขออกมาตกแต่งระบายสีให้สวยงามน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และให้นำกรรไกรตัดเอาเฉพาะตัวเลขที่อยู่บนกระดาษ


• เมื่อตัดเสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มระดมความคิด วางแผน คิดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ตัวเลขในการทำสื่อทำกิจกรรมหรือเกมการศึกษาอย่างไรก็ได้ ตามวามคิดของแต่ละกลุ่ม ที่เห็นว่าเหมาะสมและสามารใช้สอนหรือจัดกิจกรรม และเป็นสื่อเข้ามุมให้เด็กได้เล่นจริงได้แล้วเกิดประโยชน์


• เมื่อได้กิจกรรมแล้วก็ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมของกลุ่มตนเอง เพื่อให้เพื่อนได้รับฟังและนำไปปรับใช้ได้ และเพื่อให้อาจารย์ให้คำแนะนำหรือปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมได้ก่อนที่จะนำไปปฏิบัติ




• เมื่อนำเสนอเสร็จเรียบร้อยและได้มีการปรับแก้ในการสร้างสื่อทำกิจกรรม อาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มลองคิดวัสดุอุปกรณในการทำสื่อเพิ่มเติม และอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษข็งสีขาว10แผ่น ไม้ไอติมให้กลุ่มละ2ถุง เพื่อให้ใช้ในการทำสื่อ กลุ่มของดิฉันได้สร้างสื่อเข้ามุม เป็นสื่อที่ส่งเสริมพื้นฐานการบวก ซึ่งสื่อนี้จะทำเป็นเหมือนหนังสือเปิดอ่าน หน้าแรกจะติดเลข1 แล้วทำช่องให้เด็กนำไม้ไอติมมาวาง ตามเลขที่บวกกันแล้วได้ 1 หน้าสอง ก็จะให้วางไม้ไอติมตามเลขที่บวกกันแล้วได้2 เช่น ฝั่งหนึ่งวาง1อัน อีกฝั่งหนึ่งวาง1อัน รวมเป็น2อัน เท่ากับเลขที่ได้ติดไว้ในหน้านั้น


• เมื่อแต่ละกลุ่มลองจำลองการทำสื่อของตนเอง อาจารยก็ได้สอบามแต่ละกลุ่มว่าต้องใช้วัสดุอะไรบ้าง อาจารย์จะสั่งสินค้ามาให้ และทำร่วมกันในคาบต่อไป 

สิ่งที่ได้รับ
-การออกแบบชิ้นงานด้วยจินตนาการของตนเองที่มาจากประสบการณ์และความรู้สึก
-การระดมความคิดการวางแผนการทำงานในการทำงานกลุ่มยอมรับความคิดเห็นกันและกัน
-การคิดแก้ปัญหาปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม

ประเมินตนเอง
-สามารถใช้ประสบการณ์ความรู้สึกนึกคิดที่มีออกแบบชิ้นได้ด้วยความสามารถของตนเอง
-ตั้งใจฟังที่อาจารย์กำลังอธิบายให้ความสำคัญในการเรียนเพื่อนำไปปรับใช้
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมระดมความคิดการสร้างสื่อเพื่อให้ได้สื่อที่ดี

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจทำงานของตนเองอย่างเต็มที่และงานก็ออกมาสวยงามตามความตั้งใจ
-ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้งานออกมาดี
-ทุกคนตั้งใจทำงานกลุ่มช่วยกันสามารถปรัปแก้ไขในส่วนที่ยังไม่เหมาะสมได้

ประเมินอาจารย
-อาจารย์มีวิธีการให้ความรู้ประสบการณ์แก่นักศึกษาอย่างดีและน่าสนใจ
-อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและจินตนาการตามความคิดของแต่ละคน
-อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกันเพื่อให้ช่วยกันระดมความคิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่5
วันจันทร์ ที่10 ตุลาคม 2559
•••••••••••••••••••••••••••••••••

>เข้าสู่บทเรียน
การคิดริเริ่ม  =  คิดแปลกใหม่,คิดแตกต่าง
การคิดคล่องแคล่ว  =  คิดรวดเร็ว,ชินชำนาญการคิด,
การคิดยืดหยุ่น  =  ปรับเปลี่ยนการคิด เปลี่ยนแปลง
การคิดละเอียดละออ  =  คิดถี่ถ้วน
การคิดสร้างสรรค์  =  การคิดทั้ง4อย่างข้างต้นมารวมกัน ก่อให้เกิดการคิดที่สมบูรณ์


การที่จะให้เด็กมีการคิดทั้ง5อย่างนี้ได้ ต้องนำไปสู่การจัดกิจกรรมที่เหมาะสม มีองค์ประกอบดังนี้
• หลักสูตร
   - 4สาระการเรียนรู้
      เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
      บุคคลและสถานที่
      สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
      ธรรมชาติรอบตัวเด็ก 

   - ประสบการณ์สำคัญ
      ด้านร่างกาย
      ด้านอารมณ์จิตใจ
      ด้านสังคม
      ด้านสติปัญญา

   - 6กิจกรรมหลัก
      กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
      กิจกรรมสร้างสรรค์
      กิจกรรมเสรี
      กิจกรรมเสริมประสบการณ์
      กิจกรรมกลางแจ้ง
      กิจกรรมเกมการศึกษา

องค์ประกอบของการจัดกิจกรรมมีดังนี้
 กิจกรรม
  - สาระ(หน่วย)
  - ประสบการณ์
     ด้านร่างกาย
     ด้านอารมณ์จิตใจ
     ด้านสังคม
     ด้านสติปัญญา

• อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมสร้างสรรค์โดยมีการบูรณาการกับสะเต็ม

หน่วย แมลง

แบ่งกลุ่ม6-7คน นำกระดาษบรูฟมาติดกับพื้นเพื่อรองเวลาทำกิจกรรม

กลุ่มที่1 ทำของเล่นแมลง
วัสดุ,อุปกรณ์ : แกนทิชชู,กระดาษแข็งสีขาว,เชือก,กรรไกร,สี,กาว,ตุ๊ดตู่เจาะกระดาษ
ตัดแกนทิชชูแบ่งเป็น3ส่วนเท่าๆกัน

นำตุ๊ดตู่มาเจาะแกนทิชชู2ครั้ง จะได้4รู

วาดวงกลมในกระดาษสีขาว ให้มีขนาดกว้างกว่าปากของแกนทิชชู

ได้แล้ว แบบนี้

วาดรูปแมลงที่สนใจลงไป ระบายสีตกแต่งให้สวยงาม

นำเชือกมาร้อยขึ้นลงตามรูแกนทิชชู แล้วผูกให้แน่น

นำแมลงที่เราวาดติดกาวแล้วนำมาแปะที่ปากแกนกระดาษทิชชู เสร็จเรียบร้อย

บูรณาการStem
S = วิธีการเล่น
M = ทรงกลมของกระดาษ
A = การตกแต่งแมลง
T = การค้นหารูปภาพแมลงจากอินเทอร์เน็ต
E = การออกแบบการทำชิ้นงาน

กลุ่มที่2 พิมพ์มือ
วัสดุ,อุปกรณ์ : สีโปสเตอร์,จานสี,พู่กัน,กระดาษ,กรรไกร,กาว

นำพู่กันจุ่มสีแล้วระบายที่มือทั้งสองข้าง

พิมพ์ลงบนกระดาษแล้วตัดตามรูปมือของเรา พับตรงกลาง ตกแต่งให้เป็นผีเสื้อ

บูรณาการStem
S = วิธีการเล่น
M = รูปทรงของผีเสื้อ
A = การตกแต่ง,ผสมสี
T = การถ่ายรูปผีเสื้อ
E = การออกแบบการทำชิ้นงาน

กลุ่มที่3 เป่าฟองสบู่
วัสดุ,อุปกรณ์ : สีโปสเตอร์ผสมน้ำสบู่,หลอด,กระดาษ

นำหลอดจุ่มสี แล้วเป่า

ผลที่ออกมา สวยงามมาก

บูรณาการStem
S = วิธีการเล่น,ปฏิกิริยาการเกิดฟอง
M = รูปทรงของฟองสบู่
A = การใช้สีเป่า ตกแต่งฟองสบู่
T = การถ่ายรูปภาพผลงาน
E = การออกแบบการทำชิ้นงาน

กลุ่มที่4 ตกแต่งจานกระดาษให้เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์
วัสดุ,อุกรณ์ : จานกระดาษ,สี,กรรไกร,ไม้เสียบลูกชิ้น,กาว

ด้วยความที่ห้ามซ้ำกัน จึงออกมาเป็นเช่นนี้แล555
โดนอาจารย์สั่งสอนด้วย มันคิดไม่ออกจริงจริงค่ะ 555
"ลักษณะของต้นไม้"

บูรณาการStem
S = วิธีการเล่น
M = รูปทรงของกระดาษ
A = การตกแต่งของเล่น
T = วิธีการทำ
E = การออกแบบการทำชิ้นงาน


จากนั้น เมื่อทำกิจกรรมครบทุกกลุ่ม อาจารย์ให้จัดสถานที่อุกรณ์ให้เรียบร้อย และนั่งให้เป็นระเบียบเพื่อตรวจชิ้นงานของนักศึกษาที่ได้ทำไปเมื่อสักครู่ พร้อมทั้งแนะนำติชมให้นักศึกษาเข้าใจ

สิ่งที่ได้รับ
-ได้รู้จักองค์ประกอบของการคิดต่างๆและการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพฒนาการของเด็ก
-ได้ทำงานเป็นกระบวนการขั้นตอนได้คิดได้ลงมือทำด้วยตนเองเพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์
-ได้บูรณาการผลงานการทำแต่ละอย่างให้สอดคล้องเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาเพื่อเรียนรู้อย่างครบถ้วน

ประเมินตนเอง
-มีความตั้งใจในการทำผลงานของตนเองและช่วยเหลือเพื่อนด้วยความเต็มใจ
-คิดว่าการทำกิจกรรมครั้งนี้ได้ความรู้มากพอสมควรที่จะนำไปสู่การปรับจัดกิจกรรมให้เด็กได้
-เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วนำอุกรณ์ไปทำสะอาดช่วยเพื่อนฝึกการมีความรับผิดชอบ

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจฟังในขณะที่อาจารย์กำลังสอนหรืออธิบายกิจกรรมที่จะให้ทำต่อจากนี้
-ทุกคนตั้งใจทำผลงานของตนเองมีความคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่อย่างน่าสนใจ
-ทุกคนมีความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมจัดเก็บสิ่งของทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์จัดเตรียมวัสดุอุกรณ์การทำกิจกรรมครบทำให้ทำกิจกรรมอย่างเป็นระะบบ
-อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานตามความสามารถ
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยและเข้าสอนตรงตามเวลาที่กำหนดในตาราง

          ••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่4
วันจันทร์ ที่3 ตุลาคม 2559
•••••••••••••••••••••••••••••••••
• อาจารย์อธิบายหัวข้อการจัดการเรียนรู้แบบสเต็มสตีมศึกษาให้นักศึกษาได้รู้ จากนั้นก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเตรียมจัดกิจกรรมให้เพื่อนๆได้ร่วมทำ ในหัวข้อสะเต็มสตีม เพื่อเป็นการฝึกการจัดการเรียนรู้อย่างถูกต้อง


กลุ่มที่1 การสร้างบ้านจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ
เช่น ลังกระดาษ แกนทิชชู ไม้เสียบลูกชิ้น เศษกระดาษ กิ่งไม้ เป็นต้น



กลุ่ม2 ทำมงกุฎผลไม้
วัสดุ กระดาษแข็ง กระดาษสีต่างๆ







กลุ่มที่3 ทำหุ่นนิ้วยานพาหนะ
วัสดุ กระดาษสีต่างๆ



กลุ่มที่4 ทำผลไม้
วัสดุ กระดาษหนังสือพิม กระดาษสีต่างๆ



กลุ่มที่5 ทำปลาจากจานกระดาษ
วัสดุ จานกระดาษ ตกแต่งด้วยสีเทียน สีเมจิก



 กลุ่มที่6 ตุ๊กตาไข่ล้มลุก
วัสดุ ไข่ไก่ กระดาษสีต่างๆ



สิ่งที่ได้รับ
-ได้ฝึกจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มสตีมศึกษาที่สามารถเชื่อมโยงหลายทักษะ
-ได้ฝึกการเป็นผู้นำกิจกรรมชี้แจงขั้นตอนต่างๆ และฝึกการทำงานเป็นทีมช่วยเหลือกัน
-ได้คิดอย่างสร้างสรรค์ จินตนาการผลงานแต่ละชิ้นออกมาให้สวยงามและแปลกใหม่

ประเมินตนเอง
-มีความพร้อมในการออกไปจัดกิจกรรมให้กับเพื่อนๆและเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงสะเต็มศึกษา
-ตั้งใจฟังเพื่อนแต่ละกลุ่มสาธิตและอธิบายกิจกรรมทุกกิจกรรมเพื่อทำผลงานออกมาให้สวยงาม
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและแต่งกายเข้าเรียนอย่างเหมาะสมและถูกต้อง

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจและให้ความความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีและมีผลงานที่สวยงาม
-ทุกกลุ่มเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจไม่ยากหรือง่ายเกินไปทำให้เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
-ทุกคนนั่งทำงานอย่างเรียบเร้อยไม่รบกวนกลุ่มอื่นและแต่งกายตามความเหมาะสม

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดกิจกรรมแล้วลองนำมาจัดการเรียนรู้เพื่อให้เห็นภาพจริง
-อาจารย์แนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนี้เป็นอย่างดีและเตรียมอุปกรณ์ให้
-อาจารย์ให้ความสนใจและสังเกตนักศึกษาอย่างทั่วถึงเพื่อที่จะได้แนะนำอย่างเท่าเทียมกัน

             •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••